3 กรรมสิทธิ์ ของผู้ซื้อบ้านลอยฟ้า
คอนโดมิเนียมผุดขึ้นมาบนผื้นแผ่นดินขวานทองนับเนื่องจนถึงบัดนี้กว่า 30 ปี และจนถึงปัจจุบัน มีจำนวนอาคารรวมๆ หมื่นโครงการกระจายทั่วประเทศ โดยมีผู้ใช้ชีวิตเกินอยู่หลับนอน 3-4 ล้าน
มากมายก่ายกองขนาดนี้ แต่จะมีผู้รู้บ้างหรือไม่ว่ากรรมสิทธิ์ของตัวเองอยู่ตรงไหน เอาเฉพาะคนซื้อหรือเจ้าของห้องชุดก็พอ ลองสะกิดแขนขาถามดูเหอะ ส่วนใหญ่จะซี้ ๆ เฉพาะบริเวณภายในที่มีฝาผนังกั้นสี่ด้าน
ส่วนนี้ไงคือกรรมสิทธิ์ของฉัน
เกินกว่าครึ่งบอกได้แค่นี้ หากถามต่อว่าพื้นที่ และทรัพย์สินส่วนอื่น ๆ ละ ในฐานะผู้ซื้อมีกรรมสิทธิ์อีกบ้างหรือไม่ คำตอบมักจะเป็นประโยคที่คล้าย ๆ กัน
ไม่รู้จ๊ะ
จะว่าไปผู้บริโภคบ้านในอาคารสูงยุคปัจจุบันไม่ค่อยสนอกสนใจเรื่องนู่นนี่นอกยู นิดของตัวเองสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ด้วยแล้วเลิกงานเปิดประตูแอ๊ดกลับเข้าห้องมักจะจมปลักอยู่กับโทรศัพท์มือถือ โน้ตบุ๊ค และไอแพต ไอโฟนยืนฟื้น
เหอะ ไหน ๆ ก็เสียเงินเสียทองซื้อบ้านลอยฟ้าตั้งมากมายควรจะรู้สิทธิ์ของตัวเองเอาไว้มั่งแต่จนด้วยเกล้าเหลียวซ้ายและขวาไม่รู้จะซักถามใคร นคร - มุธุศรี จะบอกให้
เริ่มจากภายในอาณาบริเวรที่มีฝาผนังกั้นสี่ด้าน ซึ่งผู้ซื้อรู้อยู่แล้วทุกคน พื้นที่ตรงนี้เรียกว่า กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล และเอกสารทางราชการโดยกรมที่ดินออกให้เป็นหลักฐาน
เอกสารดังกล่าวคือ หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด หรือเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า โฉนดห้องชุด มีความกว้างยาวโต กว่ากระดาษA4 นิดหน่อยพร้อมบรรจุรายละเอียดต่าง ๆ ไว้มากมาย เริ่มจากมุมซ้ายด้านบนบอกกล่าวเกี่ยวกับเลขโฉนดที่ดินของอาคารว่าที่ตั้งอยู่ตรงส่วนไหนของประเทศไทยและมีเนื้อที่กี่ไร่ กี่งาน กี่ตารางวา
ส่วนด้านขวาบนแจ้งเลขที่ห้องชุดและตำแหน่งแห่งหนว่าตั้งอยู่ชั้นไหน อาคารเลขที่เท่าไหร่
พื้นที่ตรงกลางของโฉนดเป็นแผนผังของห้องชุดที่บอกระยะความกว้างความยาวของแต่ละด้านพร้อมระบุตัวเลขพื้นที่เป็นตารางเมตร
นอกจากนั้นตอนกลางของโฉนดทุกยูนิด ยังบอกกล่าวแดนกรรมสิทธิ์ในทางสูง และอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางเอาไว้อย่างชัดเจน
ที่ว่า ๆ มาหลายบรรทัด คือ “กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล” กรรมสิทธิ์ต่อมาในส่วนที่สองคือ กรรมสิทธิ์รวม ที่เจ้าของห้องชุดทุกยูนิดได้รับการ แถมฟรี มาพร้อม ๆ กับการซื้อบ้านประเภทลอยฟ้า
แปลไทยเป็นไทย กรรมสิทธิ์รวม หมายถึง ทรัพย์ส่วนกลางที่ทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าของ ประกอบด้วย
เสา คาน หลังคา ฝาผนัง พื้นและโครงสร้างอาคารทุกรายกลาง
ทางเดินลิฟต์ บันได สวน สระว่าน้ำและ ดาดฟ้า
ไฟฟ้าแสงสว่างทางเดิน ปั๊มน้ำ และเครื่องกำเนิดไฟสำรอง และระบบป้องกันอัคคีภัย
ผู้พักอาศัยบางรายบอกว่า ก็รู้ว่าผู้ซื้อทุกคนมีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์สินเบื้องต้น แต่กำหนดแบ่งยังไงว่าห้องชุดไหนถือครองกรรมสิทธิ์ในสัดส่วนเท่าใด
ง่ายมากครับ ถ้าอยากรู้เรื่องนี้ก็โปรดหยิบแบบชุดของตัวเองออกมาดูตรงบรรทัดที่ระบุว่า อัตราส่วนกกรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางว่ามีกี่ส่วนของอัตราส่วนกกรมสิทธิ์รวมทั้งอาคาร
บรรทัดนั้นแหละ คือสัดส่วนที่เราเป็นเจ้าของซึ่งคล้าย ๆ กับการถือหุ้นในบริษัทมหาชน ยังไงยังงั้น อย่างเช่น
ห้องชุดขนาดใหญ่มีเนื้อที่เยอะ ก็มีหุ่นหรือจำนวนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนกลางเยอะ แต่ถ้าเป็นยูนิดขนาดเล็ก ความเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนรวมในอาคารชุดจะลดลงตามส่วน
กรรมสิทธิ์ที่ผูกติดกับการเป็นเจ้าของห้องชุดส่วนที่สาม คือ กรรมสิทธิ์ร่วม ซึ่งหมายถึง ทรัพย์สินส่วนที่เจ้าของห้องชุดมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกันสองราย
พื้นที่บริเวณตรงไหนบ้าง สามารถมองเห็นได้ง่าย ๆ ด้านสองลูกกะดานั้นคือ พื้นและฝาผนังด้านที่ติดกับเพื่อนร่วมชั้น ทั้งด้านซ้ายด้านขวานั้นแหละ
ผนังดังกล่าวไม่ว่าจะมีความหนามากน้อยแต่ไหน โปรดระลึกอยู่เสมอว่า เราเป็นเจ้าข้าวเจ้าของเพียง ครั้งเดียว เท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นกรรมสิทธิ์ของห้องข้าง ๆ เขา
ด้วยเหตุฉะนี้ เราจึงไม่สามารถทุบทำลายหรือเจาะช่องเป็นประตูผ่านเข้าผ่านออกตลอดรวมถึงการเจาะไชให้เป็นรูหาได้ไม่
หากประสงค์จะติดตั้งตะขอ หรือดอกตะปูแขวนข้าวของและรูปภาพ ก่อนจะดำเนินการโปรดวัดความยาวดอกสว่านให้พอดิบพอดีทุกครั้งไป
ผิดพลาดพลั้งเผลออาจจะกลายเป็นคดีความข้อหา ละเมิด หรือ ทุบทำลาย ทรัพย์สินของเพื่อนห้องข้างเคียงเขา
เสียเงินเสียทองนะไม่เท่าไหร่ แต่จะกลายเป็น ผิดใจ เข้าหน้ากันไม่ติดนะซี้ เคยพบเคยเห็นมาเยอะแล้ว
ว่าถึงตรงนี้แล้ว อย่าลืมแดนกรรมสิทธิ์ในทางสูงเอาไว้ด้วยนะ โดยเฉพาะผู้อยู่อาศัยรายที่ชอบปลูกต้นไม้ประเภทที่มีลำต้นสูงใหญ่ และหรือติดตั้งจานรับสัญญาณภาพทีวีที่เกินความสูงที่กำหนดไว้ในโฉนดห้องชุดของตัวเอง เพราะเข้าข่ายรุกล้ำพื้นที่กรรมสิทธิ์บุคคลอื่นเช่นกัน
ครับ.. ที่ว่า ๆ มาทั้งหมดนั้นคือ สามกรรมสิทธิ์ ของผู้ซื้อบ้านประเภทลอยฟ้า หรือห้องชุดในคอนโดมิเนียมบนผืนแผ่นดินประเทศไทย
ที่มาจาก ตลาดบ้าน