ตรวจบ้านมือสองอย่างไร ไม่ให้มานั่งเสียใจภายหลัง
บ้านมือสองถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มองหาที่อยู่อาศัย หรือผู้ที่ต้องการลงทุนกับบ้านมือสอง แต่ก็เป็นธรรมดาที่บ้านมือสองจะต้องมาคู่กับความสึกหรอ เนื่องจากเป็นบ้านที่ผ่านการใช้งาน และบางแห่งก็ถูกทิ้งร้างมานานนับปี โดยเฉพาะบ้านที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่โครงสร้างต่าง ๆ ของบ้านจะเริ่มมีปัญหา ทั้งคานพื้น และพนังฉาบปูน ดังนั้น ผู้ซื้อควรมีความรู้ เพื่อที่จะได้ตรวจสอบบ้านมือสองก่อนที่จะตัดสินใจซื้อจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจกับเงินที่สูญเสียไป ในการซ่อมแซม และเยียวยากับสารพัดปัญหาภายหลัง โดยจุดใหญ่ ๆ ที่ผู้ซื้อบ้านมือสองจะต้องให้ความสำคัญมีอยู่ด้วยกัน 3 เรื่องดังนี้ ภายนอกบ้าน ต้องตรวจสอบรอบ ๆ ว่าบริเวณบ้าน มีการทรุดตัวมากน้อยแค่ไหน โดยอาจสังเกตจากลานจอดรถ หรือลานซักผ้า เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างแผ่นพื้นวางบนดิน สังเกตว่าน้ำฝนจากบ้านช้างเคียงไหลเข้ามาในบริเวณบ้านหรือไม่ บ้านมีระดับต่ำกว่าถนนหน้าบ้านเพียงใด เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดปัญหาน้ำท่วมบ้านหากข้างบ้านมีการขุดสระ หรือถมดินสูง อาจเกิดปัญหาบ้านทรุด หรือตัวบ้านและรั้วเกิดความเสียหายได้ หากมีต้นไม่ใหญ่จะต้องดูว่าบังแดดหรือไม่ รวมถึงมีระบบรากที่อาจส่งผลต่อความเสียหายของกำแพงบ้างหรือไม่ ตรวจสอบหลังคาว่ามีน้ำรั่วซึมเข้บ้านได้หรือไม่ รวมถึงฝ้าเพดานว่า มีอาการ บวม พอง หรือมีคราบน้ำซึมหรือไม่ ทดสอบง่าย ๆ โดยการฉีดน้ำไปบนหลังคาเพื่อทดสอบการรั่วซึม และตรวจสอบผนังว่าน้ำรั่วซึมหรือไม่ โดนดูจากรอยด่าง บวมของสีบนผนัง ซึ่งอาจเกิดจากน้ำฝน หรือน้ำจากห้องน้ำไหลซึมเข้ามาในผนัง ระบบภายใน มี 2 ระบบ ระบบประปา ตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำบริเวณผนัง และใต้พื้นห้องน้ำ และทดสอบน้ำรั่ว โดยการปิดก๊อกน้ำในบ้านทุกจุด แล้วดูว่ามิเตอร์น้ำยังเดินอยู่หรือไม่ หากมิเตอร์ยังเดินอยู่ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากอุปกรณ์ในถังพักโถสุขภัณฑ์เสื่อม หากเปลี่ยนใหม่แล้วไม่หาย อาจเกิดจากระบบท่อน้ำประปารั่ว ระบบไฟฟ้า ให้ตรวจสอบสายไฟว่าเสื่อมคุณภาพหรือไม่ หากฉนวนหุ้มสายไฟมีรอยแตกหรือกรอบ ควรเปลี่ยนใหม่ทั้งชุด โครงสร้างอาคาร ตรวจสอบภาพรวมของตัวบ้านว่าอยู่ในแนวดิ่ง ตั้งฉากกับพื้นหรือไม่ โครงสร้างเสาและคานรับน้ำหนักบ้านจะต้องไม่แอ่นหรือเอียง ตรวจหารอยร้าวในคานและเสาหากพบว่ามีรอยร้าวที่เกิดกับเนื้อคอนกรีต ซึ้งเป็นโครงสร้างข้างในของเสาและคาน ไม่ใช่แค่รอยร้าวของปูนฉาบที่ผิวหน้า ควรเรียกวิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาช่วยตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยหากเป็นบ้าน 2 ชั้น อาจจำเป็นต้องรื้อฝ้าเพดาน เพื่อตรวจสอบว่าท้องพื้นชั้นบนมีรอยร้าวด้วยหรือไม่ นอกจากการตรวจสอบข้างต้นแล้ว ผู้ซื้อบ้านมือสองจะต้องดูถึงข้อมูลทั่วไปด้วย เช่น บ้านที่จะขายปัจจุบันมีคนอยู่หรือไม่ และเป็นเจ้าของเดิมหรือผู้มาเช่า มีค่าใช่จ่ายเดิมที่ยังไม่ชำระหรือไม่ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง และทำการตรวจสอบว่าผู้ใดจะต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช่จ่ายเหล่านั้น เจ้าของเดิมโอนกับผู้ประกอบการหรือยัง และยังต้องผ่อนกับธนาคารหรือไม่ ถ้ายังเหลือมีจำนวนเท่าไหร่ ตรวจสอบโฉนดที่ดินให้ตรงกับบ้านเลขที่และตรงกับหลังที่ต้องการจะซื้อ และชื่อผู้ขายต้องตรงกับผู้เป็นเจ้าของบ้าน และควรสอบถามพูดคุยกับผู้อยู่อาศัยในบ้านข้างเคียงถึงปัญหาต่าง ๆ เข่น ถนน ประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ หรือสิ่งรบกวนอื่น ๆ
บ้านมือสองถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มองหาที่อยู่อาศัย หรือผู้ที่ต้องการลงทุนกับบ้านมือสอง แต่ก็เป็นธรรมดาที่บ้านมือสองจะต้องมาคู่กับความสึกหรอ เนื่องจากเป็นบ้านที่ผ่านการใช้งาน และบางแห่งก็ถูกทิ้งร้างมานานนับปี โดยเฉพาะบ้านที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่โครงสร้างต่าง ๆ ของบ้านจะเริ่มมีปัญหา ทั้งคานพื้น และพนังฉาบปูน ดังนั้น ผู้ซื้อควรมีความรู้ เพื่อที่จะได้ตรวจสอบบ้านมือสองก่อนที่จะตัดสินใจซื้อจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจกับเงินที่สูญเสียไป ในการซ่อมแซม และเยียวยากับสารพัดปัญหาภายหลัง โดยจุดใหญ่ ๆ ที่ผู้ซื้อบ้านมือสองจะต้องให้ความสำคัญมีอยู่ด้วยกัน 3 เรื่องดังนี้
ภายนอกบ้าน ต้องตรวจสอบรอบ ๆ ว่าบริเวณบ้าน มีการทรุดตัวมากน้อยแค่ไหน โดยอาจสังเกตจากลานจอดรถ หรือลานซักผ้า เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างแผ่นพื้นวางบนดิน สังเกตว่าน้ำฝนจากบ้านช้างเคียงไหลเข้ามาในบริเวณบ้านหรือไม่ บ้านมีระดับต่ำกว่าถนนหน้าบ้านเพียงใด เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดปัญหาน้ำท่วมบ้านหากข้างบ้านมีการขุดสระ หรือถมดินสูง อาจเกิดปัญหาบ้านทรุด หรือตัวบ้านและรั้วเกิดความเสียหายได้ หากมีต้นไม่ใหญ่จะต้องดูว่าบังแดดหรือไม่ รวมถึงมีระบบรากที่อาจส่งผลต่อความเสียหายของกำแพงบ้างหรือไม่ ตรวจสอบหลังคาว่ามีน้ำรั่วซึมเข้บ้านได้หรือไม่ รวมถึงฝ้าเพดานว่า มีอาการ บวม พอง หรือมีคราบน้ำซึมหรือไม่ ทดสอบง่าย ๆ โดยการฉีดน้ำไปบนหลังคาเพื่อทดสอบการรั่วซึม และตรวจสอบผนังว่าน้ำรั่วซึมหรือไม่ โดนดูจากรอยด่าง บวมของสีบนผนัง ซึ่งอาจเกิดจากน้ำฝน หรือน้ำจากห้องน้ำไหลซึมเข้ามาในผนัง
ระบบภายใน มี 2 ระบบ ระบบประปา ตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำบริเวณผนัง และใต้พื้นห้องน้ำ และทดสอบน้ำรั่ว โดยการปิดก๊อกน้ำในบ้านทุกจุด แล้วดูว่ามิเตอร์น้ำยังเดินอยู่หรือไม่ หากมิเตอร์ยังเดินอยู่ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากอุปกรณ์ในถังพักโถสุขภัณฑ์เสื่อม หากเปลี่ยนใหม่แล้วไม่หาย อาจเกิดจากระบบท่อน้ำประปารั่ว ระบบไฟฟ้า ให้ตรวจสอบสายไฟว่าเสื่อมคุณภาพหรือไม่ หากฉนวนหุ้มสายไฟมีรอยแตกหรือกรอบ ควรเปลี่ยนใหม่ทั้งชุด
โครงสร้างอาคาร ตรวจสอบภาพรวมของตัวบ้านว่าอยู่ในแนวดิ่ง ตั้งฉากกับพื้นหรือไม่ โครงสร้างเสาและคานรับน้ำหนักบ้านจะต้องไม่แอ่นหรือเอียง ตรวจหารอยร้าวในคานและเสาหากพบว่ามีรอยร้าวที่เกิดกับเนื้อคอนกรีต ซึ้งเป็นโครงสร้างข้างในของเสาและคาน ไม่ใช่แค่รอยร้าวของปูนฉาบที่ผิวหน้า ควรเรียกวิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาช่วยตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยหากเป็นบ้าน 2 ชั้น อาจจำเป็นต้องรื้อฝ้าเพดาน เพื่อตรวจสอบว่าท้องพื้นชั้นบนมีรอยร้าวด้วยหรือไม่
นอกจากการตรวจสอบข้างต้นแล้ว ผู้ซื้อบ้านมือสองจะต้องดูถึงข้อมูลทั่วไปด้วย เช่น บ้านที่จะขายปัจจุบันมีคนอยู่หรือไม่ และเป็นเจ้าของเดิมหรือผู้มาเช่า มีค่าใช่จ่ายเดิมที่ยังไม่ชำระหรือไม่ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง และทำการตรวจสอบว่าผู้ใดจะต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช่จ่ายเหล่านั้น เจ้าของเดิมโอนกับผู้ประกอบการหรือยัง และยังต้องผ่อนกับธนาคารหรือไม่ ถ้ายังเหลือมีจำนวนเท่าไหร่ ตรวจสอบโฉนดที่ดินให้ตรงกับบ้านเลขที่และตรงกับหลังที่ต้องการจะซื้อ และชื่อผู้ขายต้องตรงกับผู้เป็นเจ้าของบ้าน และควรสอบถามพูดคุยกับผู้อยู่อาศัยในบ้านข้างเคียงถึงปัญหาต่าง ๆ เข่น ถนน ประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ หรือสิ่งรบกวนอื่น ๆ
http://www.homed4u.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539363006
https://www.facebook.com/profile.php?id=100009945105162