เรียลตี้วัน นายหน้ารับฝากขายบ้าน ที่ดิน คอนโด และอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท
ซื้อ บ้านมือสอง ผ่านนายหน้าท่านจะได้รับการบริการเหนือกว่าการซื้อผ่านสถาบันอื่น ๆ เช่น
และเมื่อท่านได้ข้อสรุปแล้วว่าจะใช้บริการของ นายหน้าขายบ้าน ท่านก็ควรรู้ว่า นายหน้าในเมืองไทยนั้น มีหลายระดับ ท่านจึงต้องใส่ใจเลือกกันนิดหน่อยว่า ควรเป็นนายหน้าระดับไหน ท่านควรเลือก นายหน้าขายบ้านสังกัดบริษัท ที่มีมาตรฐาน เดี๋ยวนี้ เขามี สมาคมตัวแทนและนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ คอยกำกับ ดูแลสมาชิกที่เป็นบริษัทตัวแทนนายหน้าขายบ้านกว่า 100 ราย ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจอีกทางที่ท่านสามารถใช้บริการในสังกัดสมาคมฯ ได้อย่างสบายใจ ติดขัดสิ่งใด ท่านยังสามารถร้องเรียนไปที่สมาคมฯได้
ไม่ช้าไม่นาน ท่านก็จะได้รับข้อมูลของบ้านหลายหลัง ในทำเลที่มองหา ท่านเลือกและขอให้นายหน้าพาไปดู สำรวจบ้านทุกหลัง เพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของบ้านแต่ละหลัง เมื่อท่านเลือกบ้านได้ถูกใจแล้ว ก็ต้องมีการเจรจา ต่อรอง เพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุด(สำหรับท่าน) โดยท่านจะต่อรองเอง ห รือให้มืออาชีพ(ก็นายหน้านั้นละ) ช่วยจัดการให้ก็ไม่เสียหาย
ขั้นต่อมา เป็นเรื่องที่ท่านต้องสำรวจตัวเอง ว่าท่านตั้งใจที่จะซื้อเป็นเงินสดหรือจะซื้อผ่อนกับสถาบันการเงิน(ธนาคาร) ถ้าเป็นเงินผ่อน นายหน้าอาชีพจะแนะนำหรือช่วยเหลือเรื่องการขอวงเงินให้ท่าน
จากนั้น นายหน้า(มืออาชีพ) ก็จะจัดเตรียมเอกสารการโอนทรัพย์ และนัดหมายทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ตัวผู้ขาย(เจ้าของบ้าน) พร้อมคู่สมรส(ถ้ามือ) ธนาคารของท่านและของผู้ขาย ฯลฯ ไปทำการโอนบ้าน(หรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ซื้อขายกัน) ที่กรมที่ดิน ชำระค่าธรรมเนียมโอน ค่าภาษีอากร (และอื่น ๆ) แล้วก็เสร็จพิธี ท่านก็รับโฉนด(ตัวจริง) กลับบ้าน(ใหม่)ได้
ซื้อ บ้านมือสอง จากสถาบันการเงิน
ทรัพย์สินของสถาบันการเงินต่าง ๆ มีมากมายให้ท่านเลือกแต่ทรัพย์าสินที่ว่านั้นท่านต้องเลือกดี ๆ ทำเล ราคา สภาพของบ้านดีไหม หรือมีคนอยู่ในบ้าน(ไล่แล้วไม่ยอมไป)เป็นต้น
เมื่อท่านเริ่มสนใจทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่งต้องไปดูแลก่อนทุกครั้งไม่ต้องรีบตัดสินใจโดยให้เจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินนั้น ๆ พาไปชมทรัพย์ อย่าลืมสำรวจบ้านให้ละเอียดตามแบบสำรวจที่ให้มา ทรัพย์สินของสถาบันการเงิน ส่วนใหญ่จะต้องมีการซ่อมแซม ดังนั้นหากจะตัดสินใจซื้อควรนำผู้รับเหมาไปด้วยเพื่อประมาณราคาซ่อมแซม แล้วค่อยตัดสินใจ ราคาเมื่อซื้อไปแล้วเป็นราคาตลาดหรือเปล่า แพงหรือถูกหรือเปล่า เพื่อให้แน่ใจว่าราคาตรงกับราคาตลาดไหม วิธีง่าย ๆ เช็คจากบริษัทนายหน้า บริษัทประเมินราคาทรัพย์สิน สื่อต่าง ๆ และเว็บไซต์ ต่างๆ
ในกรณีเป็นที่ดินเปล่า ให้เช็คถนนว่าเป็นถนนสาธารณะหรือเปล่า ถ้าไม่ระบุในโฉนด ให้ประเมินไว้ก่อนว่าที่ดินนั้นตาบอดหรือไม่ วิธีการตรวจสอบให้ไปกรมที่ดินนั้น ๆ แล้วถ่ายแผนระวางจากนั้นเจ้าหน้าที่ดินจะช่วยตรวจสอบให้ หรือสำนักเขตในพื้นที่นั้น ๆ
ปัญหาของราคาที่เสนอซื้อจากสถาบันการเงิน ราคาคาอาจจะไม่ค่อยลงกันซักเท่าไร แต่ก็นั้นละสถาบันการเงินก็มีต้นทุนเช่นกัน อย่าไปต่อเขามาก ให้ประเมินจากความต้องการของท่านดีกว่าถึงแม้ว่ามันจะแพงไปนิด ซื้อ บ้านมือสอง จากบุคคลที่เป็น NPLหรือบุคคลทั่วไป(NPL=บุคคลที่มีปัญหาหนี้ค้างชำระกับธนาคาร)
ในกรณีนี้ควรระวังเป็นอย่างยิ่ง แล้วจะรู้ได้อย่างไร อาจจะดูยากนิดนึง เพราะบุคคลเหล่านี้จะไม่ยอมบอกแม้กระทั้งนายหน้ามืออาชีพก็ไม่รู้ จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อมีการอายัดทรัพย์ ณ สำนักงานที่ดิน (มีใบแดง/ใบอายัดทรัพย์แนบในเอกสารสำนักงานที่ดิน)
ในกรณีนี้นายหน้าขายบ้านอาชีพ จะทำตัวเป็นนักสืบโดยหาคำตอบให้ได้ว่าเป็นหนี้ธนาคารเท่าไหร่ ไถ่ถอนให้ธนาคารแล้วเหลือเท่าไหร่ (เรื่องนี้สำคัญ) ที่พูดถึงกรณีนี้เคยมีปัญหามาแล้ว ผู้ขายเป็น NPL รับเงินมัดจำจะซื้อแล้วให้ทำดังนี้
บุคคลทั่วไปที่ไม่เป็น NPL
ในกรณีที่ผู้ขายอาจจะจดจำนองธนาคารอยู่หรือไม่เป็นหนี้ใคร เป็นเรื่องปกติบ้านขายโดยทั่วไปส่วนใหญ่ก็เป็นหนี้ธนาคารกันทั้งนั้น วิธีการอาจจะใช้วิธีเดียวกับข้างบน แต่ขอเตือนการำทำสัญญาจะซื้อขายให้ทำกับเจ้าของกรรมสิทธิ์เท่านั้น ถ้าหากมีบุคคลอ้างตัวว่าเป็นญาติ, ลูกหลานหรือป็นอะไรก็แล้วแต่ ขอดูใบมอบอำนาจก่อน แล้วจะรู้ได้อย่างไร
ซื้อ บ้านมือสอง จากกรมบังคับคดี
บ้านมือสอง จาก กรมบังคับคดี มีมากจริง ๆ เลือกดี ๆ และค่อย ๆ เลือกเพราะว่าส่วนใหญ่ทรัพย์ต้องซ่อมแซมกันพอสมควร แถมต้องไปดูทรัพย์ใช้แผนที่ของกรมบังคับคดีในกรณีบ้านหมู่บ้านหาไม่ค่อยยากเท่าไร ถ้าเป็นที่ดินและก้อ โอโฮ้.........
แต่ก็ไม่ใช่ทุกแปลง ทรัพย์ของกรมบังคับคดีจะระบุเลขที่โฉนดชัดเจน ทิศไหนติดที่ดินแปลงไหนถ้าหาไม่เจอเจ้าหน้าที่ที่ดินช่วยคุณได้
ประกาศขายทอดตลาด
ข้อดีและดีมาก ๆ คือทรัพย์ของกรมบังคับราคาถูกหากไม่มีใครขึ้นราคา การซื้อทรัพย์ของกรมบังคับคดี "ต้องดูของจริงมินฉะนั้นท่านจะเสียใจ"
ข้อควรระวังในการซื้อทรัพย์ ในกรณี คอนโดมิเนียม เห็นว่าราคาถูกเลยตามไปซื้อหารู้ไม่ว่าค้างค่าส่วนกลางบ้าน การซื้อคอนโดมิเนียมทางกรมบังคับคดีจะไม่แจ้งตัวเลขค้างชำระค่าส่วนกลาง ณ วันโอนกรรมสิทธิ์ แต่ปัจจุบันบางครั้งเขาก็จะแจ้งนะ ไม่รู้แล้วแต่อารมณ์หรือเปล่า ว่าไปแล้วไม่ใช่หน้าที่ของเขา กลับว่าเป็นหน้าที่ของเราต่างหากที่ต้องตรวจสอบ
กรมบังคับคดีเป็นหน่วยงานราชการ ที่ใครต้องการประมูลทรัพย์ของเขา ไปอ่านกฎระเบียบให้ดีก่อน ก่อนลงมือ โดยสามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ www.led.go.th โทร. 02-881-4999
ที่มา: บ้านมือสอง ธนาคารอาคารสงเคราะห์
http://www.homed4u.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539363006
https://www.facebook.com/profile.php?id=100009945105162